เกษตรกรแห่ขายโค-กระบือรับเปิดเทอม ทำราคาตก 10-20%

เกษตรกรแห่ขายโค-กระบือรับเปิดเทอม

เกษตรกรแห่ขายโค-กระบือรับเปิดเทอม ในช่วงเปิดเทอมที่ผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายสูง เกษตรกรผู้เลี้ยงโคแห่นำโคไปขายตลาดนัด ส่งผลราคาโคลดลง 10-20% พ่อค้าในประเทศและจากเวียดนาม แห่ซื้อกันคึกคัก เพื่อที่จะได้โค-กระบือ ที่ราคาถูกและสามารถนำไปต่อยอดถึงผลกำไรที่สูงได้ในอนาคต

ผู้สื่อข่าว จ.มหาสารคาม ได้ลงพื้นที่สำรวจการซื้อขายโค-กระบือในตลาดนัดโคกระบือ –บ้านหัน ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ระดับต้นๆ ของภาคอีสาน โดยเปิดตลาดนัดทุกวันพุธ มียอดการซื้อขายโค-กระบือ หลายร้อยตัว

เกษตรกรแห่ขายโค-กระบือรับเปิดเทอม พบว่าบรรยากาศการซื้อขายค่อนข้างคึกคัก และที่น่าสังเกตุคือมีปริมาณโคเข้ามาในตลาดค่อนข้างมาก นอกจากจะเป็นพ่อค้าโค-กระบือรายย่อยในท้องถิ่นแล้วยังมีพ่อค้ารายใหญ่จากต่างพื้นที่ อาทิ จ.นครสวรรค์ จ.ลพบุรี จ.เพชรบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.ประจวบ เป็นต้น เดินทางมากันเป็นขบวนโดยใช้รถบรรทุกพ่วงหลายสิบคัน

ซึ่งทางตลาดนัดโค-กระบือบ้านห้วยฝ้าย ได้เตรียมความพร้อมในการให้บริการทั้งพ่อค้า แม่ค้า และประชาชนที่มาแลกเปลี่ยนซื้อขายที่ตลาดนัดแห่งนี้ โดยกำหนดทางเข้า-ออกทางเดียว และทางเข้าจะมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าตลาด

เน้นการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกคน จัดจุดล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์และสบู่ทั่วตลาด และเน้นย้ำการเว้นระยะห่าง 1-2 เมตรและ จากการเปิดตลาดนัดดังกล่าวขึ้นในวันนี้ แม้จะยังไม่คึกคักเต็มที่เหมือนเมื่อก่อน แต่ก็ถือว่าผ่าน เนื่องจากมีพ่อค้าแม่ค้ามากันเยอะ ประมาณ 2,000 คน โค-กระบือ ร่วม 1,000 ตัว

แม้จากประมาณการตัวเลขจากกรมปศุสัตว์พบว่ามีวัวเนื้อที่เกษตรกรไทยขุนเพื่อส่งออกในนาม “วัวไทย” ประมาณ 6 ล้านตัว แต่เชื่อหรือไม่ว่า วัวที่เอามาขุนจำนวนมากมายเหลือประมาณนั้นถูกนำเข้ามาจากประเทศพม่า แต่ละสัปดาห์ มีวัวประมาณ 3,000 – 5,000 ตัว หรือเดือนหนึ่งๆ ก็มีประมาณ 12,000 – 20,000 ตัว ได้ถูกนำข้ามแดนมาซื้อขายในตลาดนัดวัวที่โพธิ์ทอง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ในสภาพที่เป็นวัวโตเต็มวัย (ตลาดนี้เป็นตลาดค้าโค-กระบือที่พ่อค้าว่ากันว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย)  จากนั้นมีผู้ที่เป็นทั้งเกษตรกรและเป็นพ่อค้าในคนๆ เดียวกันนำไป “ขุน” ต่ออีกประมาณ 3 เดือนเพื่อขายให้แก่พ่อค้าคนกลางอีกทอดหนึ่งเพื่อส่งออกต่าง ประเทศ เช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย และเพื่อขายบริโภคในประเทศไทย 

เกษตรกรแห่ขายโค-กระบือรับเปิดเทอม

พ่อค้าเหล่านี้จะตระเวนไปตามตลาดโค-กระบือ ทั่วภาคอีสาน นอกจากนั้นยังมีพ่อค้าจากประเทศเวียดนาม ที่เข้ามาทาง จ.มุกดาหาร ก็ตระเวนหาซื้อโค-กระบือ ตามตลาดนัดทั่วภาคอีสาน เนื่องจากปัจจุบันเส้นทางการคมนาคมจากภาคอีสานไปเวียดนามมีความสะดวกสบายมากกว่าอดีต รวมทั้งการเปิดการค้าเสรีอาเซียน ทำให้โค กระบือ มีตลาดรอบรับมากขึ้น

นางสายยนต์ พลเสน เจ้าหน้าที่ออกใบซื้อขาย ตลาดบ้านหัน ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ก่อนเปิดภาคเรียนทุกปีจะมีเกษตรกรผู้พ่อค้านำโค กระบือ เข้ามาซื้อขายกันจำนวนมาก เนื่องจากช่วงเปิดภาคเรียนผู้ปกครองมีภาระรายจ่ายสูง ต้องนำเงินไปใช้จ่ายทางด้านการศึกษา อีกทั้งเกษตรกรบางรายต้องหาเงินไปใช้หนี้ธนาคาร ในช่วงเวลานี้เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 เป็นต้นมาราคาโคอาจตกลงเล็กน้อยกว่า 10% ถือว่าเป็นเรื่องปกติ


ด้าน นางสุริโย โพธิ์ศรีทอง แม่ค้าโค กระบือ จาก จ.สุพรรณบุรี เปิดเผยว่า ตนเดินทางมาเป็นขบวนตระเวนรับซื้อโค กระบือตลาดภาคอีสานเดือนละเกือบสิบครั้ง ช่วงนี้ราคาโค กระบือ อาจจะลงบ้างเพราะเข้ามาในตลาดมากกว่าทุกช่วงเป็นเรื่องปกติ เมื่อมาถึงตลาดจะถูกจะแพงก็ต้องซื้อ เพราะนอกจากจะส่งโรงเชือดในประเทศแล้ว ก็ต้องส่งให้ฟาร์มเพื่อนำไปขุนให้ได้น้ำหนัก 4-5 ร้อยกิโลกรัมเพื่อส่งออกไปตลาดจีนและเวียดนาม ช่วงนี้ตลาดส่งออกไม่มีปัญหาจึงต้องเร่งหาซื้อโคส่งตามออเด้อให้ได้

รายงานข่าวจากมหาสารคามแจ้งอีกว่า จากการสำรวจเขียงเนื้อโคชำแหละในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตรงข้ามหน้าห้างบิ๊กซี ต.เกิ้ง อ.เมือง ปกติราคาขายเคยพุ่งสูงถึง ก.ก.ละ 330 บาท แต่ช่วงนี้ลดลงอยู่ที่กิโลกรัมละ 320 บาท

นอกจากนั้นที่เขียงเนื้อของเดวิดฟร์ามที่ตั้งอยู่ริมถนนบายพาส ตรงข้าม อบต.แวงน่าง อ.เมือง ซึ่งเป็นเขียงเนื้อรายใหญ่ก็ลดราคาขายลงถึง ก.ก.ละ 260 บาท สอบถามพ่อค้าเขียงเนื้อ หน้าบิ๊กซี เล่าว่าราคาโคมีชีวิตลดลงบ้างก็เพียงเล็กน้อย เขียงเนื้อก็ลดลงบ้างเช่นเดียวกันแต่ไม่มาก ก.ก.ละประมาณ 10 บาท อีกไม่นานราคาโคมีชีวิตก็จะปรับสูงขึ้นอีกเหมือนเดิม


นอกจากนี้ ข่าวจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคามแจ้งว่า ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้วางยุทธศาสตร์กำหนดให้พื้นที่ปศุสัตว์เขต 4 ซึ่งมีทั้งหมด 12 จังหวัดเป็นเขตยุทธศาสตร์ด้านโคเนื้อ พัฒนาให้เกษตรกรปรับวิธีการเลี้ยงโค-กระบือ

จากการที่ได้เดินทางไปตลาดนัดโค-กระบือ ได้ทำให้เราได้ทราบว่า “ ความต้องการวัวของแต่ละตลาดมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเลยทำให้มีราคาต่างกันไปด้วย ” ตลาดนัดโค-กระบือแหล่งใหญ่ๆไม่ว่าจะเป็น ตลาดนัดโค ในจังหวัดบุรีรัมย์ หรือ จังหวัดสุรินทร์ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ที่ตลาดสุรินทร์วัวส่วนใหญ่ก็จะเป็นวัวเนื้อ

ซึ่งมีพ่อค้ารายใหญ่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย มาทำการเลือกซื้อเพื่อที่จะนำไปขายต่อ หรือ เพื่อนำไปแปรรูปเป็นอาหาร ไม่เพียงแต่จะมีเพียงวัวเนื้อเท่านั้น แต่ยังมีกระบืออีกมากมายด้วย และที่ตลาดนัดจังหวัดสุรินทร์ ถือว่าเป็นแหล่งซื้อขายวัวงามและวัวเกรตดีๆอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งวัวส่วนใหญ่ที่มีการซื้อขายที่ตลาดแห่งนี้ส่วนมากจะเป็นวัวที่มีลักษณะดีๆ สามารถนำไปทำพันธุ์หรือไปเลี้ยงต่อได้ ราคาก็อยู่ในระดับปานกลางไม่สูงและไม่ต่ำจนเกินไปนัก

จากแบบดั้งเดิมเปลี่ยนเป็นวิธีการเลี้ยงแบบปราณีตสามารถเลี้ยงโค-กระบือ ร่วมกับอาชีพอื่นๆได้แบบผสมผสานตั้งเป้าปริมาณโค-กระบือ เพิ่มปีล 10% สำหรับพื้นที่มหาสารคามมีโคอยู่กว่า 1.1 แสนตัว มากเป็นอันดับที่ 11 ของประเทศ สินค้าปศุสัตว์โค กระบือ จึงเป็นสินค้าที่ตลาดค่อนข้างจะสดใสจำหน่ายตลาดวงกว้างทั้งในและต่างประเทศได้ ปัญหาการตลาดจึงไม่มีเนื่องจากความต้องการบริโภคสูงทั้งตลาดท้องถิ่นรวมทั้งมีพ่อค้าจากต่างถิ่นมากว้านซื้อโค-กระบือ ตามตลาดนัดขุนส่งตลาดต่างประเทศ ถึงแม้ราคาโคมีชีวิตจะตกลงก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆตามฤดูกาลเท่านั้น

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ ข่าวเกษตรออนไลน์ , epicwin โคเนื้อ-โคขุน pgslot99 pgslot