อินทผลัมพืชเศรษฐกิจมาแรง สร้างรายได้มหาศาล

อินทผลัมพืชเศรษฐกิจมาแรง วันเสาร์สบายๆวันนี้มาคุยเรื่องอินทผลัมกันสักหน่อยดีกว่า ในช่วง 5–6 ปีมานี้เกษตรกรและเจ้าของสวนผลไม้ที่พอจะมีฐานะดีเริ่มหันมาปลูกอินทผลัมกันหลายรายมากขึ้น เพราะเป็นผลไม้สารพัดประโยชน์ มีวิตามินและแร่ธาตุสูง และมีบริโภคอยู่ทั่วทุกมุมโลก ถ้าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง อินทผลัมจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของไทยได้สบาย
อันที่จริงผมไม่ได้เจนจัดสันทัดเรื่องอินทผลัมมากนัก เคยกินแต่อินทผลัมแห้ง รู้สึกรสชาติหวานแหลมไปหน่อย ส่วนใหญ่ผมมักกินคู่กับอย่างอื่นด้วย เช่นน้ำเต้าหู้ หรือน้ำแข็งไส ช่วงนี้เห็นตามห้างมีขายอินทผลัมสด กันหลายที่ ว่าจะซื้อมาลองชิมดูเหมือนกัน ก็ประจวบเหมาะกับ คุณศรีเมือง เจริญศิริ อดีต รมว.ศึกษาธิการ และอดีต ส.ว.มหาสารคาม ส่งอินทผลัมสดมาให้ลองชิมพอดี ทำให้ได้รู้ว่าอินทผลัมสดรสชาติอร่อยและมีประโยชน์มากขนาดไหน
อินทผลัมพืชเศรษฐกิจมาแรง นอกจากนี้ ผมสังเกตดูกล่องกระดาษใส่อินทผลัมสด 2 กิโลกรัมที่ส่งมาให้นั้น เป็นแพ็กเกจอย่างดี สวยงาม ตีตรา SRIMUANG SARAKHAM DATE PALMS พร้อมกับโลโก้ ต้นอินทผลัมคู่ ก็พอจะเดาได้ว่าคุณศรีเมืองหันมาจับธุรกิจอินทผลัมแล้ว และคงไม่ได้ขายแค่ในประเทศ แต่น่าจะ ส่งออกต่างประเทศ ด้วย
และก็เป็นอย่างที่คิดไว้จริงๆ คุณศรีเมืองเล่าให้ฟังว่าตลอด 5 ปีที่ คสช.ยึดอำนาจนั้นไม่ได้ไปเคลื่อนไหวทางการเมืองเลยหันมาปลูกอินทผลัมแทน ตอนแรกโดนหลอกหมดไปหลายตังค์ ถูกหลอกให้เอา ต้นอ่อนที่ได้จากการเพาะเมล็ด มาปลูกพอต้นโตออกผลมาปรากฏว่า รสชาติไม่อร่อย กินไม่ได้ ขายไม่ออก ซึ่งเหมือนกับเกษตรกรไทยหลายรายที่โดนหลอกลักษณะนี้ ลงทุนไปหลายปีกว่าจะรู้ตัวว่าถูกต้มก็สายไปเสียแล้ว
ต่อมาด้วยความบังเอิญทำให้มีโอกาสได้รู้จักกับ Osama Ayyash ซีอีโอของศูนย์เพาะเนื้อเยื่ออินทผลัมที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คุณศรีเมืองเลยเดินทางไปดูศูนย์เพาะเนื้อเยื่อที่อาบูดาบี และศึกษาการปลูกอินทผลัมอย่างจริงจัง กระทั่งค้นพบว่า จังหวัดมหาสารคามมีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เหมาะที่สุดสำหรับปลูกอินทผลัม คือมีอุณหภูมิประมาณ 35–45 องศาเซลเซียส และมีช่วงเวลาที่อุณหภูมิเย็นประมาณ 17–18 องศา ติดต่อกันเป็นเวลา 7–8 วัน เพื่อให้อินทผลัมออกดอก ส่วนดินก็เป็นดินกร่อยดินเค็มเล็กน้อย และมีน้ำพอสมควร
อินทผลัมมีสายพันธุ์มากกว่า 600 สายพันธุ์ สายพันธุ์ เมดจูล Medjool ได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งอินทผลัม สายพันธุ์ เดค-เล็ต นัวร์ Deglet nour จัดเป็นสายพันธุ์ราชินี ส่วนสายพันธุ์ที่เหมาะกับการปลูกในเมืองไทยและเหมาะกับการเพาะเนื้อเยื่อมากที่สุดคือ สายพันธุ์บาฮี Barhi
คุณศรีเมืองบอกด้วยว่าตอนนี้ปลูกอินทผลัมบนเนื้อที่กว่า 200 ไร่ และช่วยสั่งต้นอ่อนจากการเพาะเนื้อเยื่อมาให้หมู่บ้านต่างๆในมหาสารคามทดลองปลูกหมู่บ้านละ 50 ต้น ถ้าหมู่บ้านไหนสนใจอยากได้เพิ่มอีก ก็จะช่วยประสานงานสั่งซื้อให้มากขึ้น เพราะมีความฝันอยากเห็น จ.มหาสารคามเป็น อินทผลัมซิตี้ ปลูกอินทผลัมพันธุ์แท้รสชาติอร่อยเหมือนตะวันออกกลาง เป็นอินทผลัมสดทั้งจังหวัด และปลูกไว้เพื่อการส่งออก
อินทผลัมมีคุณประโยชน์มากมาย คุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยป้องกันรักษาโรคได้หลากหลาย แม้มีรสหวานแต่คนเป็นเบาหวานก็กินได้ นอกจากนี้ อินทผลัมถือเป็น ผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ holy fruit เพราะใน คัมภีร์อัลกุรอาน มีบันทึกถึงอินทผลัมอยู่ในบางช่วงบางตอน อีกทั้งมี แนวปฏิบัติสืบต่อกันมา ว่า เมื่อมีเด็กแรกเกิด ให้ผู้ใหญ่เคี้ยวอินทผลัมแล้วจุ่มน้ำผึ้งเอาไปป้ายเพดานปากของเด็ก หรือในช่วงละศีลอด ให้กินอินทผลัมซัก 1, 3 หรือ 5 เม็ดก่อนกินอาหาร
ปัจจุบันชาวมุสลิมทั่วโลกมีประมาณ 1.6 พันล้านคน ถ้าไทยสร้างอินทผลัมซิตี้ได้ เกษตรกรไทยก็จะไม่ลำบากอีกต่อไป
อินทผลัมเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง เกษตรกรให้ความสนใจเพาะปลูกกันมากขึ้นเนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย เก็บผลผลิตได้ในระยะเวลานาน ให้ผลตอบแทนสูง และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมีการปลูกอินทผลัมประมาณ 100 ไร่ ให้ผลผลิตรวมกว่า 31,835 กก./ปี สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) ติดตามสถานการณ์การผลิตและผลตอบแทนอินทผลัม พบว่า พื้นที่ปลูกกระจายอยู่หลายอำเภอ ส่วนใหญ่พบในอำเภอน้ำพอง ภูเวียง และหนองเรือ เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์บาร์ฮี (Barhi) เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ปลูกและดูแลง่าย ให้ผลผลิตสูง และมีรสชาติหวาน กรอบ เหมาะสำหรับรับประทานผลสด ส่วนใหญ่เกษตรกรนิยมปลูกโดยใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ซึ่งนำเข้าจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ราคาประมาณ 1,800 – 2,300 บาท/ต้น ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพใกล้เคียงกันทุกต้น ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 37,301 บาท/ไร่ (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ระยะยาว) นิยมปลูกช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ระยะเวลาเก็บเกี่ยวช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 500 – 2,000 กก./ไร่ (เฉลี่ย 20 – 80 กก./ต้น) คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 383,240 บาท/ไร่ ราคาผลสดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 300 – 800 บาท/กก. ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพของผลผลิต
สำหรับการจำหน่ายผลผลิต ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 แบ่งเป็นจำหน่ายทางออนไลน์และมีลูกค้าประจำมาเลือกซื้อที่สวน ส่วนผลผลิตร้อยละ 20 มีพ่อค้าคนกลางทั้งในและนอกจังหวัดขอนแก่นมารับซื้อที่สวนเพื่อส่งขายต่อไปยังจังหวัดใกล้เคียง นอกจากจะจำหน่ายแบบผลสดแล้ว เกษตรกรยังนำผลผลิตอินทผลัมมาแปรรูปเป็นน้ำอินทผลัม และอินทผลัมอบแห้ง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ ข่าวเศรษฐกิจออนไลน์ , epicwin ธุรกิจขาขึ้นในช่วงเศรษฐกิจ pgslot99 pgslot